วัฏจักรการนอน ส่งพบต่อกระบวนการหลายอย่างของร่างกาย ทั้งระดับการตื่นหรือง่วงนอน รวมไปถึงอุณหภูมิร่างกาย
นาฬิกาชีวภาพของร่างกายเรา ตามธรรมชาติแล้วจะสอดคล้องต่อรอบกลางวัน กลางคืน
วัฏจักรการนอน อาจถูกรบกวนทั้งจากการเดินทาง ทำงาน หรือโรคอื่นที่เกี่ยวข้อง
วัฏจักรการนอนที่ดี สร้างได้จากการนอนหลับเป็นเวลา (ต่อเนื่อง และเป็นประจำ), การรับแสง (แสงแดดในตอนเช้าเพื่อให้ร่างกายตื่นตัว) และการออกกำลังกายเป็นประจำ
Sleep Foundation – Dr. Abhinav Singh
นาฬิกาชีวภาพ หรือ Circadian Rhythm คือระบบภายในของร่างกายที่ควบคุมจังหวะการนอนและตื่น ภายใน 24 ชั่วโมง การตั้งเวลาปลกที่เหมาะสมจึงมีความสำคัญในการรักษารอบการนอนและตื่น ให้มีความสมดุล ซึ่งค้นพบโดยชาวอเมริกัน 3 คน ประกอบด้วย Jeffrey Hall, Michael Rosbash และ Michael Young และได้รับรางวัลโนเบลในปี 2017 ในสาขา Physiology or Medicine1
โดยตามข้อมูลจาก Sleep Foundation2 พบว่าการได้รับแสงสว่างในตอนกลางวัน จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัวและรักษาความกระปรี้กระเปร่าไว้ได้ ในขณะที่เมื่อถึงเวลากลางคืน การผลิตฮอร์โมนเมลาโทนิน จะเริ่มต้นขึ้นเพื่อให้เราเริ่มกระบวนการนอน วัฏจักรการนอนหลับนีไม่ไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกับการนอนและตื่นเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบต่อระบบการทำงานของร่างกายทั้งหมด ตั้งแต่เมตาบอลิซึม สุขภาพจิต ระบบภูมิคุ้มกัน และกระบวนการซ่อมแซม DNA ซึ่งเกี่ยวข้องกับการป้องกันมะเร็ง กระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นทั้งในพืช รา โปรโตซัว และแม้แต่ในสัตว์ ซึ่งการค้นพบดังกล่าวพบว่านาฬิกาชีวภาพนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องแค่รอบการนอนของเราเท่านั้น แต่ยังส่งผลไปถึงระบบเมตาบอริซึม และการทำงานของสมอง
โดยวัฏจักรการนอนที่ดี จะช่วยให้เกิดการนอนที่มีประสิทธิภาพ ในทางกลับกัน หากวัฏจักรการนอนมีการเปลี่ยนแปลง จะสามารถทำให้เกิดปัญหาการนอนหลับ อย่างเช่น ภาวะนอนไม่หลับ (Insomnia) ซึ่งภายหลังได้พบว่ามีงานวิจัยจำนวนมาก ชี้ให้เห็นว่ารอบการนอนมีบทบาทสำคัญทั้งในแง่ของสุขภาพกาย และสุขภาพจิต
Comentarios